หน้าหลัก Home    คุณกำลังอยู่ที่ : หน้าแรก > ข้อมุลด้านการเกษตรที่น่าสนใจ > เชื้อสารเร่งเพื่อการเกษตร > สารเร่ง พด.8
 

   สารเร่ง พด.8 สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดิน
          
ประเทศไทยมีพื้นที่ดินกรดเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ มีประมาณ 140 ล้านไร่ (44 เปอร์เซนต์ ของพื้นที่ทั้งหมด) ดินกรดโดยทั่วไปที่จัดว่ามีปัญหาต่อการเกษตรจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำกว่า 5.5 มีสาเหตุสำคัญเกิดขึ้น เนื่องจากการเกิดการชะล้างอย่างรุนแรงในอดีต และเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดการเอาใจใส่ในการปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการเผาทำลายตอซังข้าว ซึ่งมีผลทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพิ่มมากขึ้นและทำให้ดินมีปัญหาเป็นกรด พืชจึงไม่สามารถดูดซับธาตุอาหารมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสจะถูกตรึงไว้ในดิน ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารอีกธาตุหนึ่ง ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยมีบทบาทต่อการสร้างราก การแตกกอ และการแตกแขนงของกิ่งก้าน ทำให้มีการสร้างดอกและเมล็ดของพืชเพาะปลูก

          กรมพัฒนาที่ดินจึงได้นำกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการละลายฟอสฟอรัส เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินร่วมกับการไถกลบตอซังและปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์

          "สารเร่ง พด.8" สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดินที่ทำการเกษตรเป็นเวลานาน ขาดการปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินเป็นกรดและเกิดปัญหาในการใช้ฟอสฟอรัสกับพืช
ประโยชน์ของสารเร่ง พด.8
1.
เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดิน
2.
ทำให้พืชเจริญเติบโตและสมบูรณ์

วัสดุสำหรับผลิตจุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสในดิน
1.
กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
2.
น้ำ 10 ลิตร
3.
ปุ๋ยหมัก 500 กิโลกรัม
4.
รำข้าว 5 กิโลกรัม
5.
สารเร่ง พด.8 1 ซอง (25 กรัม)
วิธีทำ
ขั้นตอนที่ 1 ขยายเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร
 
1.
ละลายสารเร่ง พด.8 ในน้ำและกากน้ำตาลในถังกวนผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
 
2.
ปิดฝาไม่ต้องสนิท
 
3.
ใช้เวลาการหมัก 2 วัน กวน 2 ครั้งต่อวัน
ขั้นตอนที่ 2 ผสมเชื้อจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก
   
1.
นำจุลินทรีย์ที่ขยายได้ 10 ลิตร ผสมในปุ๋ยหมัก 500 กิโลกรัม และรำข้าว 5 กิโลกรัม คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ และให้มีความชื้น 60 เปอร์เซนต์
   
2.
ตั้งกองปุ๋ยหมักให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าความสูง 70 เซนติเมตร
   
3.
กองปุ๋ยหมักในที่ร่มเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำไปใช้
อัตราการใช้
1.
ข้าว พืชไร่ พืชผักหรือไม้ดอกไม้ประดับ
:
ใช้ 100 กิโลกรัมต่อไร่
2.
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
:
ใช้ 3 กิโลกรัมต่อต้น
วิธีการใช้
1.
ข้าว พืชไร่ พืชผักหรือไม้ดอกไม้ประดับ
:
ใส่ระหว่างแถวก่อนปลูกพืช
2.
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เตรียมหลุมปลูก
:
ใส่โดยคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก รองไว้ก้นหลุม
3.
ต้นพืชที่เจริญแล้ว
:
ใส่รอบทรงพุ่มและหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม
ข้อเสนอแนะ
ห้ามเผาตอซัง ให้ไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์
โทรศัพท์ 038-531200 , โทรสาร 038-532029 , E-mail Address : cco01@ldd.go.th  Copyright © 2006-2007