หน้าหลัก Home    คุณกำลังอยู่ที่ : หน้าแรก > ข้อมุลด้านการเกษตรที่น่าสนใจ > เชื้อสารเร่งเพื่อการเกษตร > สารเร่ง พด.9
 

   สารเร่ง พด.9 สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยว
 
         ดินเปรี้ยวเป็นปัญหาดินหลัก ที่เกิดจากสภาพธรรมชาติซึ่งมีผลกระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตร โดยเฉพะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มที่มีการเพาะปลูกข้าวประมาณ 5.3 ล้านไร่ ดินเปรี้ยวหรือดินกรดกำมะถันเป็นดินที่มีสารไพไรท์มาก เมื่อสารไพไรท์นี้ถูกทำให้แห้งจะแปรสภาพเป็นสารประกอบจาโรไซท์ที่มีลักษณะเป็นจุดประสีเหลือง ฟางข้าว หรือมีกรดกำมะถันเกิดขึ้นภายในความลึก 150 เซนติเมตร ทำให้ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงมากที่สุด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำกว่า 4.0 ระดับความรุนแรงของดินเปรี้ยวขึ้นอยู่กับระดับความลึกของชั้นดินกรดกำมะถัน ปัญหาของดินเปรี้ยวได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรง ทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร โดยจะมีอะลูมินั่ม เหล็ก และแมงกานีสละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก ลดความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส น้ำมีรสฝาดไม่เหมาะสมต่อการเกษตรและใช้อุปโภค บริโภค ในบ่อเลี้ยงปลาอาจเกิดความเป็นพิษของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และคาร์บอนไดออกไซด์
          กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้นำกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของ ฟอสฟอรัสในสภาพดินดังกล่าว ร่วมกับการไถกลบตอซัง และการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน

          สารเร่ง พด.9  สำหรับผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อย ซึ่งเป็นดินกรดกำมะถันที่มีความรุนแรงของกรดน้อย (pH5)

ประโยชน์ของสารเร่ง พด.9
1.
เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อย หรือ pH ไม่ต่ำกว่า 5.0
2.
ทำให้พืชเจริญเติบโตและสมบูรณ์

วัสดุสำหรับผลิตจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเปรี้ยวน้อย
1.
กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
2.
น้ำ 10 ลิตร
3.
ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
4.
รำข้าว 1 กิโลกรัม
5.
สารเร่ง พด.9 1 ซอง (25 กรัม)
วิธีทำ
1.
ละลายสารเร่ง พด.9 ในน้ำ กากน้ำตาล และรำข้าวในถัง กวนผสมให้เข้ากันนาน 10 นาที
2.
นำสารละลาย พด.9 ผสมในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ และให้มีความชื้น 60 เปอร์เซนต์
3.
ตั้งกองปุ๋ยหมักให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูง 50 เซนติเมตร
4.
กองปุ๋ยหมักในที่ร่มเป็นเวลา 7 วัน แล้วนำไปใช้
อัตราการใช้
1.
ข้าว พืชไร่ พืชผักหรือไม้ดอกไม้ประดับ
:
ใช้ 100 กิโลกรัมต่อไร่
2.
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
:
ใช้ 3 กิโลกรัมต่อต้น
วิธีการใช้
1.
ข้าว พืชไร่ พืชผัก
:
ใส่ระหว่างแถวก่อนปลูกพืช หรือไม้ดอกไม้ประดับ
2.
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เตรียมหลุมปลูก
:
ใส่โดยคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักรองไว้ก้นหลุม
3.
ต้นพืชที่เจริญแล้ว
:
ใส่รอบทรงพุ่มและหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม
ข้อปฏิบัติ
1.
ห้ามเผาตอซังและไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
2.
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือวัสดุปรับปรุงดิน
โทรศัพท์ 038-531200 , โทรสาร 038-532029 , E-mail Address : cco01@ldd.go.th  Copyright © 2006-2007