สถานีพัฒนาที่ดินปราจีนบุรี  ยินดีต้อนรับ............ข้าราชการดีเด่น  ประจำปี  2565  กรมพัฒนาที่ดิน   
    หน้าหลัก

วัสัยทัศน์
 
:: วิสัยทัศน์และพันธกิจการพัฒนาที่ดิน
 
 
วิสัยทัศน์ กรมพัฒนาที่ดิน
 

"เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570"
  
นิยามวิสัยทัศน์ ดังนี้
 
-
พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์ : ป้องกันการชะล้างพังทลาย แก้ไขปัญหาดิน การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมในการผลิตพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ ให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น
 
-
การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน : การสำรวจ วิเคราะห์ จำแนกประเภทการใช้ที่ดิน การจัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน วางแผนการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต
 
-
การมีส่วนร่วม : ภาคีเครือข่าย ได้แก่ หมอดินอาสา ยุวหมอดิน เกษตรกร ชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ดิน และการเผยแพร่องค์ความรู้ วิชาการผ่านภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดิน
   
 
2. ภารกิจตามกฏหมาย
 

          การกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน ในพื้นที่เกษตรกรรม การสำรวจและจำแนกดิน การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดิน การควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณที่มีการใช้หรือทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีหรือวัตถุอื่นใด การอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุง บำรุงดิน การผลิตแผนที่และทำสำมะโนที่ดิน การให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินข้อมูลดินและการใช้ ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน
 
 
3. พันธกิจ
 

 
-
สำรวจ วิเคราะห์ จำแนกดิน และสำมะโนที่ดิน เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
 
-
พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการดินที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
 
-
สร้างศูนย์กลางข้อมูลอัจฉริยะทางดินของประเทศ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน
 
-
พัฒนาที่ดินด้วยระบบการบริหารจัดการเชิงรุก ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการวางแผน ถ่ายทอดเทคโนโลยี อนุรักษ์ดินและน้ำและปรับปรุงบำรุงดินเพื่อรักษาสมดุลความ
เสื่อมโทรมของที่ดินและนิเวศเกษตร
 
-
ยกระดับองค์การด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรรม
   
 
4. อำนาจหน้าที่
 

 
-
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
-
ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ และจำแนกดินเพื่อกำหนดนโยบาย และวางแผนการใช้ที่ดิน การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดิน การควบคุมการใช้ที่ดิน บริเวณที่มีการใช้หรือทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมี หรือวัตถุอื่นใด การกำหนดเขต การอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งติดตามสถานการณ์สภาพการใช้ที่ดิน
 
-
ศึกษา วิจัยและพัฒนาการปรับปรุงบำรุงดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการเกษตรในไร่นา ตลอดจนการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร
 
-
ให้บริการวิเคราะห์และตรวจสอบดิน น้ำ พืช ปุ๋ย พร้อมให้คำแนะนำเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดิน
 
-
ศึกษา วิเคราะห์ และผลิตแผนที่ภาพถ่าย จัดทำสำมะโนที่ดิน และพัฒนาระบบแผนที่ฐาน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผน การใช้ การพัฒนาการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและอื่น ๆ
 
-
ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งสร้างเครือข่ายหมอดินอาสา และกลุ่มเกษตรกร ให้เข้มแข็ง เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ดินและในด้านอื่น ๆ
 
-
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
   
 
5. ค่านิยมองค์กร
 

   
TEAM For Soils (ทีมดี ดินดี)
   
T-Teamwork : สร้างทีม
   
E-Energetic : ทำงานเชิงรุกอย่างมีพลัง 
   
A-Agile : คล่องแคล่ว 
    M-Move Forward : มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
     
 
6. ประเด็นยุทธศาสตร์
 

 
-
การขับเคลื่อนแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
 
-
การอนุรักษ์ดินและน้ำ
 
-
การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ดิน
 
-
การสร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายพัฒนาที่ดิน
 
-
การพัฒนาองค์กร
     
 
7. เป้าประสงค์หลัก
 

 
-
จัดทำแผนการใช้ที่ดินเพื่อการวางแผนพัฒนาในพื้นที่
 
-
ส่งเสริมเกษตรกรทำการผลิตตามความเหมาะสมของดิน
 
-
พื้นที่เกษตรได้รับการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
 
-
พื้นที่เกษตรกรรมได้รับการฟื้นฟูและปรับปรุงดิน
 
-
พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาที่ดิน
 
-
เกษตรกรนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินไปใช้ประโยชน์
 
-
สร้างและพัฒนาต่อยอดภาคีเครือข่ายพัฒนาที่ดินให้เข้มแข็ง และยั่งยืน
     
 
8. ตัวชีวัด
 

 
-
ร้อยละของหน่วยงานที่นำแผนการใช้ที่ดินไปใช้ระดับตำบล (ร้อยละ)
 
-
ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพของดิน (ร้อยละ)
 
-
พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (ล้านไร่)
 
-
พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรดิน (ล้านไร่)
 
-
ร้อยละความสำเร็จของโครงการวิจัยที่ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิชาการของกรมฯ และดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน (ร้อยละ)
 
-
ระดับความสำเร็จในการพัฒนาระบบงานวิจัย (ระดับ)
 
-
ร้อยละของเกษตรกรที่นำเทคโนโลยีที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินไปใช้ประโยชน์ (ร้อยละ)
 
 -
ร้อยละของหมอดินอาสาและกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ที่ได้รับการพัฒนาและมีกิจกรรมต่อเนื่อง (ร้อยละ)