หน้าแรก > ผลงานและข้อมูลวิชาการ > ดินและแนวทางการจัดการ

การจัดการดิน

 

M12

       ลักษณะดินและสมบัติของดิน
          ดินทรายลึกมาก  ที่เกิดจากตะกอนลำน้ำเนื้อหยาบหรือตะกอนทรายชายทะเล  พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างเรียบ  บางพื้นที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  เนื้อดินเป็นทรายหรือดินทรายปนดินร่วนที่หนามากกว่า  100  ซม.  จากผิวดินดินบนสีน้ำตาลหรือสีเทา  ดินล่างสีเทามีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลือง  การระบายน้ำค่อนข้างเลว  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลางมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน
          ชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้  ได้แก่  ชุดดินทรายขาว  (Sak)  ชุดดินวัลเปรียง  (Wp)  ชุดดินบ้านบึง  (Bbg)  ชุดดินท่าอุเทน  (Tu)   และชุดดินอุบล  (Ub) 


ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เนื้อดินหยาบเป็นพวกดินร่วนปนทราย  มีความสามารถในการอุ้มน้ำและดูดซับธาตุอาหารต่ำมาก  เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำนาน  ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ในฤดูฝนมีน้ำขัง  ทำความเสียหายเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง


ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช
ดินในกลุ่มนี้เหมาะสมสำหรับการทำนา  แต่มีข้อจำกัดสำหรับการปลูกข้าวบ้าง  เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  และขาดแคลนน้ำใน
ไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่  ไม้ผลและพืชผักอื่นๆ  เนื่องจากสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ  มีน้ำท่วมขังนานในฤดูฝน  และมีเนื้อดินเป็นทรายจัด  มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ต่ำ  ทำให้พืชที่ปลูกมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง  และการพังทลายของคันดินปลูกพืช


แนวทางการจัดการดิน


ปลูกข้าว
ในพื้นที่ที่มีความลาดชันเล็กน้อย  ควรมีการปรับรูปแปลงนา  เพื่อให้มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ  สามารถกักเก็บน้ำสม่ำเสมอได้ตลอดทั้งแปลงปลูกข้าว
ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ  เพื่อช่วยเพื่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ  ดูดซับและเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชที่ปลูก  โดยการไถกลบตอซัง  หรือปุ๋ยคอก  อัตรา 3-4 ตัน/ไร่  ปล่อยทิ้งไว้   3-4  สัปดาห์  หรือหว่านปุ๋ยพืชสด  โสนอัฟริกัน  หรือโสนอินเดียอัตรา  6-8  กก./ไร่  ไถกลบเมื่ออายุ  50-70  วัน  ปล่อยทิ้งไว้   1-2  สัปดาห์  แล้วปลูกข้าว 

ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  พด.2  ร่วมกับ  การใช้ปุ๋ยเคมี  16-16-8  อัตรา  40-50 กก./ไร่  ร่วมกับปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์  อัตรา   5-7  กก./ไร่  ในระยะปักดำ  และใส่ปุ๋ยยูเรีย  อัตรา  10-15  กก./ไร่  หลังปักดำ  35-45  วัน 
พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ปลูกพืชไร่  พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว


ปลูกพืชไร่  พืชผัก  ไม้ผล  หรือไม้ยืนต้น
ปรับสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในฤดูฝนโดยการยกร่องแบบถาวร  ให้มีสันร่องกว้าง  6-8  เมตร  ตามชนิดพืชที่ปลูก  โดยให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมถึงหรือสร้างคันดินอัดแน่นล้อมรอบ  มีคูระบายน้ำกว้าง  1 – 1.5  เมตร  ลึก  0.5 – 1 เมตร     ( กรณีปลูกพืชไร่พืชผักเฉพาะช่วงก่อนหรือปลูกข้าว  ควรยกร่องแบบเตี้ยหรือทำร่องระบายน้ำระหว่างแปลง ) 
ปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ  เช่น  การไถกลบพืชปุ๋ยสด  ปอเทืองอัตรา 6 – 8 กก./ไร่  ถั่วพุ่มอัตรา  8 – 10 กก./ไร่  หรือถั่วพร้าอัตรา   11 – 12 กก./ไร่  ไถกลบเมื่ออายุ  50 – 70 วันหลังปลูกหรือออกดอก  50 เปอร์เซนต์  ปล่อยทิ้งไว้  1 – 2 สัปดาห์  หรือไถกลบปุ๋ยหมัก  หรือปุ๋ยคอกอัตรา  2 – 3  ตัน/ไร่  ถ้าปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น  ควรขุดหลุมปลูกขนาด   75x75x75  ซม.  และปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา  25 – 5 0กก./หลุม  ปล่อยทิ้งไว้  1 – 2 สัปดาห์  ก่อนปลูกพืช  เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ดูดซับน้ำ  ธาตุอาหารและเพิ่มผลผลิต
ใส่ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำพด.2  และผลิตภัณฑ์สารเร่ง  พด.3  พด.7
เนื่องจากดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำและดูดซับธาตุอาหารต่ำมาก  จึงควรใส่ปุ๋ยเคมีทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง  เพื่อป้องกันการสูญเสียลงไปในดินชั้นล่าง  ก่อนที่พืชจะนำไปใช้ 
พัฒนาแหล่งน้ำ  และระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช  ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ 

     
   

 

 
     
  สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี
เลขที่ 43/12 หมู่ 8 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี 22160
โทร 039-433713 แฟกซ์ 039-433714


     
             Copyright © 2017, Chanthaburi Development Station. LDD